ชิปเซตของ เอเอ็มดี ของ เอเอ็มดี

หลังจากที่วางจำหน่าย แอททอล์น 64 ในปี ค.ศ. 2003, เอเอ็มดีก็ได้ออกแบบชิปเซ็ต สำหรับโปรเซสเซอร์ของพวกเขาหลังจากยุคของ สถาปัตยกรรม K6 และ K7 . โดยชิปเซ็ตนี้ได้แก่ชิปเซ็ต AMD-640, ชิปเซ็ต AMD-751 และชิปเซ็ต AMD-761 .แต่เนื่องด้วยสถานการณ์ในปี 2003 ณ ขณะหลังจากวางขาย แอททอล์น 64 , ทำให้เอเอ็มดีนั้นเลือกที่จะไม่ออกแบบชิปเซ็ตของตัวเองและอนุญาตให้ผู้ผลิตรายอื่นๆออกแบบชิปเซ็ตของตัวเองได้ แต่ต้องเปิดเผยการทำงานให้กับเอเอ็มดี. ทำให้ได้ “สถาปัตยกรรมการควบคุมแบบเปิด” จาก เอทีไอ, เวีย และ ซิส ได้พัฒนาชิปเซ็ตของตนเองสำหรับ แอททอล์น 64 ,แอททอล์น 64 X2 และ แอททอล์น 64 FX ,และชิปเซ็ตจาก เอ็นวีเดียสำหรับ Quad FX platform.

สถานการณ์เดียวกันนี้ทำให้เอเอ็มดีเลือกที่จะหยุดพัฒนาชิปเซ็ตสำหรับโปรเซสเซอร์ของเซิฟเวอร์อย่าง ออพเทอรอน ในปี 2004 หลังจากชิปเซ็ต AMD-8111, และทำให้เอเอ็มดีนั้นเลือกที่จะไม่ออกแบบชิปเซ็ตของตัวเองและอนุญาตให้ผู้ผลิตรายอื่นๆออกแบบชิปเซ็ตของตัวเองได้ แต่ต้องเปิดเผยการทำงานให้กับเอเอ็มดี. ทุกวันนี้, เอ็นวีเดีย และ บรอดคอม ยังจำหน่ายชิปเซ็ตที่ใช้กับโปรเซสเซอร์บนเซิฟเวอร์อย่าง ออพเทอรอน.

หลังจากที่เข้าซื้อกิจการของ เอทีไอ เทคโนโลยี ในปี 2006 ทำให้บริษัทได้ทีมออกแบบชิปเซ็ตที่ได้ออกแบบ ชิปเซ็ตรุ่นก่อนหน้าอาทิเช่น เรเดียน เอ๊กซ์เพรส 200 และ เรเดียน เอ๊กซ์เพรส 3200. เอเอ็มดีได้เปลี่ยนชื่อชิปเซ็ตสำหรับใช้กับโปรเซสเซอร์ของบริษัทให้เป็น เอเอ็มดีทั้งหมด (ชิปเซ็ตครอสไฟล์ เอ๊กซ์เพรส 3200 ถูกเปลี่ยนเป็น เอเอ็มดี 580X ครอสไฟล์). ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2007I, เอเอ็มดีได้เปิดตัวชิปเซ็ตภายใต้แบรนด์ของตัวเองเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2004 พร้อมกับวางจำหน่ายชิปเซ็ต [ชิปเซ็ตเอเอ็มดีซีรีส์ 690|690G]] (ก่อนหน้านั้นพัฒนาโดยมีชื่อเล่นเรียกกันว่า RS690), โดยมาพร้อมกับ IGP.ซึ่งเป็นชิปเซ็ตตัวแรกในวงการที่ใช้พอร์ต HDMI 1.2 บนเมนบอร์ด, โดยมียอดจำหน่ายมากกว่า 1 ล้านชิ้น. และยังมุ่งเป้าแข่งขันกับชิปเซ็ต อินเทล IGP , โดยการใช้ชิป เรเดียน เอ๊กเพรส 1250 (มีชื่อเรียกว่า RS600, ขายภายใต้แบรนด์ ATI) โดยการขายให้กับผู้ผลิตอย่าง, Abit และ ASRock. โดยขณะที่เอเอ็มดีผลิตเซ็ตนี้, อินเทลยังไม่ได้อนุญาตให้ ATI ใช้งาน FSB ความเร็ว 1333 MHz .

ในวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007, เอเอ็มดีได้เปิดตัวชิปเซ็ตซีรีส์ใหม่ คือ ชิปเซ็ตเอเอ็มดีซีรีส์ 7XX, ซึ่งทำตลาดตั้งแต่ผู้ใช้ที่ต้องการการเชื่อมต่อการ์ดประมวลผลกราฟิกหลายใบ จนไปถึงผู้ใช้ที่ต้องการความประหยัดโดยการมีหน่วยประมวลผลกราฟิกฝังอยู่ในเมนบอร์ด, โดยมาทดแทน ชิปเซ็ตเอเอ็มดีซีรีส์ 470/570/580 และ ชิปเซ็ตเอเอ็มดีซีรีส์ 690, โดยเป็นครั้งแรกที่เอเอ็มดีมีชิปเซ็ตที่สามารถใส่การ์ดประมวลผลกราฟิกหลายใบ.โดยชิปเซ้ตนี้วางขายในวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 โดยเป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์ม สไปเดอร์, ส่วนชิปเซ็ตที่มีหน่วยประมวลผลกราฟิกฝังอยู่ในเมนบอร์ด ได้วางจำหน่ายภายหลังฤดูฝน ปี 2008 เป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์ม คาร์ทวิลล์ .

เอเอ็มดีกลับมาทำตลาดชิปเซ็ตของเซิฟเวอร์อีกครั้งพร้อมกับชิปเซ็ต ชิปเซ็ตเอเอ็มดีซีรีส์ 800 สำหรับเซิฟเวอร์. โดยมันสนับสนุนซาต้า 6.0 จิกะบิต/วินาที 6 พอร์ต, สถานพลังงานแบบ C6 , พร้อมคุณสมบัติรองรับในโปรเซสเซอร์ เอเอ็มดี ฟิวชั่น และ AHCI รุ่น 1.2 พร้อม SATA ที่มีคุณสมบัติ FIS–based switching . โดยชิปเซ็ตนี้รองรับโปรเซสเซอร์ ฟีน่อม และ เอเอ็มดีแพลตฟอร์ม ควอร์ด เอฟเอ๊กซ์ (890FX), IGP (890GX).

แพลตฟอร์ม เอเอ็มดี คอว์ด เอฟ-เอ๊กซ์

แพลตฟอร์ม เอเอ็มดี คอว์ด เอฟ-เอ๊กซ์เป็นแพลตฟอร์มสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการความแรงมากกว่าแบบธรรมดา,โดยแพลตฟอร์มนี้จะอนุญาตให้ใช้โปรเซสเซอร์ 2 ตัวเชื่อต่อกันได้ผ่านเทคโนโลยี ไฮเปอร์ทรานสปอร์ต, และยังสามารถใช้หน่ายความจำแบบ buffered memory/registered memory DIMM ที่ใช้กันในเครื่องเซิฟเวอร์ได้ด้วย, และในเมนบอร์ดสำหรับเซิฟเวอร์, สามารถติดตั้งโปรเซสเซอร์ แอททอล์น 64 FX ซีรีส์ 70 และเมนบอร์ดแบบพิเศษ .[28] เอเอ็มดีวางขายแพลตฟอร์มนี้สำหรับคนที่ต้องการและเรียกมันว่า"เมก้า ทาสก์กิ้ง",[29] ซึ่งทำให้การประมวลผลในระบบเดียวกันนั้นสามารถทำได้มากขึ้น. โดยแพลตฟอร์มนี้กลับมาอีกครั้งเมื่อเปิดตัว สถาปัตยกรรม K10 และชิปเซ็ต ชิปเซ็ตเอเอ็มดีซีรีส์ 700 , โดยมีชื่อเล่นเรียกว่า "FASN8".

คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ:
AMD

แหล่งที่มา

WikiPedia: เอเอ็มดี http://www.arnnet.com.au/article/358774/ati_re-bra... http://www.newswire.ca/en/releases/archive/October... http://vincent.amd.com/es-es/Corporate/AboutAMD/0,... http://www.amd.com/ http://www.amd.com/us-en/Corporate/VirtualPressRoo... http://www.amd.com/us-en/Corporate/VirtualPressRoo... http://www.amd.com/us-en/assets/content_type/white... http://www.amd.com/us/Documents/AMD%202011%20CR%20... http://arstechnica.com/business/news/2010/02/amd-r... http://www.blognone.com/node/13884